ข่าวประชาสัมพันธ์

คณะผู้บริหาร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562

         รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหารของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ อาจารย์ ดร.นิธิตา ปิยอมรพันธุ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ ดร.วรรณิศา คุ้มบ้าน หัวหน้าสาขาวิชากายภาพบำบัด อาจารย์ ดร.ประภัสสร เส้งสุ้น หัวหน้าคลินิกกายภาพบำบัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน หัวหน้าคลินิกเทคนิคการแพทย์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 101 อาคารวิชาการ 3

          พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์การสร้างความเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ในปีงบประมาณ 2562 แล้วจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานไว้เป็นข้อตกลงร่วม เพื่อการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อไป ซึ่งแนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานนั้น ให้ระบุค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ภารกิจหลักของสำนักวิชาฯ และผลสำเร็จตามนโยบายเร่งด่วนของอธิการบดี/มหาวิทยาลัยที่กำหนดตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คณะผู้บริหาร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 Read More »

รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ “Research Fellow Award”

รองศาสตราจารย์ พญ. วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับเชิญ เป็น "Panelist Speaker" ในที่ประชุม The Asia Pacific Consortium of Researchers and Educators International Conference 2018 หัวข้อ "Advancing Multidisciplinary Research towards a Spectrum of Opportunities" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2561 ณ The Westin Resort Guam ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ในโอกาสเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ พญ. วีระนุช นิสภาธร ยังเป็น 1 ใน 10 ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับ The Dr. Matthew Eichler Research and Education Awards โดยได้รับรางวัล "Research Fellow Award" พร้อมได้กล่าวสุนทรพจน์ขอบคุณต่อที่ประชุม
 

I am pleased, honored and humbled to accept this award and to join past recipients whom I have long admired and respected.

– A very special thanks to the “Asia Pacific Consortium of Researchers and Educators (APCoRE) Board for selecting me and befit this citation.

– Thank you also to those who nominated me and supported my nomination.
And, of course, thank you to my family and friends, University of Malaya, Malaysia and Walailak University, Thailand for always supporting me. In part, I would like to give you a little perspective on my life as an educator:
I worked for nearly 2 decades at the University of Malaya, Malaysia, beginning as a naïve academic lecturer at the Department of Parasitology, Faculty of Medicine. Having a background as a medical doctor, it was such an incredible journey to work outside my home country-Thailand. This was a challenging experience to groom myself in transforming from a plain medical doctor to a teacher, who transferred knowledge to students in the same field. And indeed, what a gift to me that throughout my years at the University of Malaya, I had the opportunity to get to learn not only in teaching (e.g., the old, new integrated curriculum and e-learning based curriculum management system modules-UMMP) for undergraduate medical students, Master programs (e.g., MSc (Parasitology) and Master of Pathology) and PhD levels for postgraduate students and as a visiting Professor in Centro Escolar University, Philippines and Walailak University, Thailand. The experiences geared me to broaden my horizon not only dealing with students of different educational and cultural backgrounds who were eager to learn but also various research aspects related to “Clinical Tropical Medicine” with a special focus on medical parasitology. The challenges I accepted, helped me in uplifting my skill and expertise at international levels in various aspects from publications, speakerships (e.g., Keynote, Plenary, invited), editorial board member, peer reviewer, associate and guest Editors. I find myself in those experiences, also provided me the opportunities to improve the well-being of communities that I met in so many ways.

Walailak University is under the leadership of Professor Dr. Sombat Thamrongthayawong and his dedicated team. Our university is currently in the process of transforming from a conventional teaching to a new paradigm using UKPSF-HEA as a standard recognized framework of teaching and learning support. Interestingly, WU is also rapidly moving to become a Research University. I first joined Walailak University about a year ago, and in that time I have witnessed the growing trend of this institution to be more focused on research activities and encouraging international collaboration foreseeing and seeking greater recognition. In education, there is no boundary and barrier to limit what we can achieve. In my teaching career, I have the opportunity to share valuable teaching experiences with both local and international (e.g., ASEAN) students to pave way for student exchange activities.

In closing, I would like to add that UM and WU which I have the opportunity to work with scientific and cultural facilities, have made me realize a greater appreciation in this diverse yet exceptional excellence that enriched my teaching career and to work with individuals who bring their talent and expertise contributing milestones to these two(2) universities. Overall, we must continue to work together as a united group in making the scientific and cultural communities as significant players in education, economic development, tourism, health and human welfare and build innovative communities.

May we all continue to work together, nurture and support each other and help transform our higher learning institutions as a dynamic, creative place to live and work, I would like to end in this pondered quote:

As Albert Einstein says: “Education is not the Learning of Fact but the Training of the Mind to Think”.
My heartfelt Thank you to everyone.

รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ “Research Fellow Award” Read More »

ขอแสดงความยินดี กับทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow”

https://www.facebook.com/sudarat.manajit/videos/2791682380857362/

 

               ทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow”

       TriOCIN เป็นผลงานประดิษฐ์ที่ได้มาจากงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์  TriOCIN ผลิตภัณฑ์ที่มีแบคทีริโอซินเพื่อใช้ป้องกันการเกิดสิว มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุของฝีหนองบริเวณผิวหนังด้านนอกร่างกายได้อย่างดี และชิ้นงานต้นแบบได้ถูกนำไปเสนอในกิจกรรม DEMO DAY ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ กรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการ Innovative Startup เมื่อวันที่ 16 – 20 พฤษภาคม 2561 อีกทั้ง TriOCIN ยังไปคว้ารางวัล Euglena award ในเวทีแข่งขัน Tech Plan Demo Day 2018 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมถึงทีมวิจัยได้มีโอกาสเข้าไปร่วมโครงการอบรมการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตให้กับ Deep Tech Startup (SPRINT Acceleration Program 2018) นอกจากนี้ทีมนักศึกษา TriOCIN ยังได้รับรางวัลนักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้สำนักวิชา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 และรางวัลนักศึกษาดีเด่น ด้านวิชาการ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561โดยรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถเข้าไปติดตามงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของผลิตภัณฑ์ ได้ทางช่องทางออนไลน์ ของ Line Official ชื่อ TriOCIN Official (id:@Triocin) และfacebook Fanpage ชื่อTriOCIN (https://www.facebook.com/Triocin-1824144 59053930/?Ref =br_t)

           องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (วารสารระดับชาติ ในกลุ่ม TCI Q1) และนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ในงานประชุมระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งที่ 44 (Stt44) ในวันที่ 29-31 ตุลาคม 2561

         โดยกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานและสามารถนำแนวคิดจากผลงานการประกวดไปใช้ได้จริงต่อไปในอนาคต โดยจะมีการกำหนดโจทย์รายเดือน 1 หัวข้อต่อ 1 เดือน  (พ.ค.- ธ.ค. 61) จากธนาคารออมสิน ให้นักศึกษาทำคลิปวิดิโอความยาวไม่เกิน 3 นาทีส่งเข้าประกวดเพื่อชิงทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวม 20,000 บาท และส่งต่อนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับมหาวิทยาลัยเข้าประกวดในระดับประเทศต่อไป เพื่อชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 110,000 บาท

ขอแสดงความยินดี กับทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow” Read More »

นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B)

    ขอแสดงความยินดีกับทีม Naked Eye โดยมี นางสาวรุ่งนภา กรีทอง นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในที่ปรึกษาของ อาจารย์ ดร.อรวรรณ สาระกุล ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B) จำนวน 350,000 บาท  (สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)  หลังจากการนำเสนอแผนการพัฒนาธุรกิจของผลิตภัณฑ์ “ชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี” ในกิจกรรม G2B Boost up ต่อกรรมการบริหารโครงการ ฯ ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 โดยได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

           เอนไซม์จีซิกพีดีเป็นเอนไซม์สำคัญที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี(G6PD deficiency) เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี เม็ดเลือดแดงจะแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระ เช่น การได้รับยาบางชนิด สารเคมี การติดเชื้อ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ไตล้มเหลว ตัวเหลืองตาเหลือง โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางสมอง (Kernicterus) ได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิพีดีจะตรวจในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองตาเหลือง หรือผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะต้องให้อุปกรณ์ที่จำเพาะ Naked Eye จึงพัฒนาชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี เพื่อให้สามารถใช้ได้ง่าย สะดวก ลดอุปกรณ์ ระยะเวลา สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลดต้นทุนได้ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีได้กว้างขวางขึ้น และผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จะได้มีข้อมูลเพื่อป้องกันตนเองจากการรับและสัมผัสสารที่มีผลต่อการแตกของเม็ดเลือดแดงได้

นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B) Read More »

สาขาวิชากายภาพบำบัด จัดกิจกรรม ผูกศิษย์พี่น้องสานสัมพันธ์

สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ กิจกรรมผูกศิษย์พี่น้องสานสัมพันธ์  เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561 ซึ่งกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์ ประกอบด้วย กิจกรรมผูกศิษย์ ไหว้ครู สวมเสื้อวิชาชีพ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น ภายใต้ “ครอบครัวกายภาพบำบัด” ครอบครัวแห่งความรักความผูกพัน รักในวิชาชีพ ความผูกพันระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง และคณาจารย์ อบอวนด้วยความรัก และน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ

สาขาวิชากายภาพบำบัด จัดกิจกรรม ผูกศิษย์พี่น้องสานสัมพันธ์ Read More »

สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดโครงการ“กายภาพบำบัดร่วมใจและสร้างเสริมความสัมพันธ์นักศึกษากายภาพบำบัด”

สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดโครงการ“กายภาพบำบัดร่วมใจและสร้างเสริมความสัมพันธ์นักศึกษากายภาพบำบัด” เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561 ณ วัดประดู่หอม ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดวัด 
– กิจกรรมตรวจประเมินสมรรถภาพร่างกาย เช่น การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประเมินภาวะอ้วน ไขมันใต้ผิวหนัง ประเมินการทรงตัวและความเสี่ยงของการล้ม การให้การรักษาทางกายภาพบำบัด และการไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน
การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และเป็นการฝึกทักษะและประสบการณ์ภาคสนามให้แก่นักศึกษาหลักสูตรกายภาพบำบัด เพื่อนักศึกษาสามารถเข้าใจถึงวิชาชีพได้มากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ การให้ความรู้และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดโครงการ“กายภาพบำบัดร่วมใจและสร้างเสริมความสัมพันธ์นักศึกษากายภาพบำบัด” Read More »

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันมหิดล

 


มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ร่วมกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันมหิดลในหัวข้อ “การแพทย์ไทยในทิศทางของ Thailand 4.0” โดยนายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จรัญ บุญกาญจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ประธานกล่าวเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา จาก 5 สำนักวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วม เมื่อวันเสาร์ ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุม ๔ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม พร้อมด้วย 

รองศาสตราจารย์ ดร.จรัญ บุญกาญจน์ กล่าวว่า นับเป็นโอกาสที่ดีที่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้จัดกิจกรรมต่างๆเนื่องในวันมหิดล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ซึ่งพระองค์เป็นผู้ที่ทุ่มเท เสียสละ ในการสร้างรากฐานทางการแพทย์ให้แก่ประเทศไทย ให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับนานาประเทศ ถือเป็นพระบิดาที่อยู่ในใจของบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกหมู่เหล่า นอกจากพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์แล้วพระราชดำรัสของพระองค์ที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกศาสตร์ สาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางการแพทย์และระบบสุขภาพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของเพื่อนมนุษย์เป็นอย่างสูง 

กิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันมหิดล ในวันนี้ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกันจัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การแพทย์ไทยในทิศทางของ Thailand ๔.๐” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลไทยยุคปัจจุบัน เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่จะนำความรู้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง กล่าวว่า เนื่องในวันมหิดล ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายและพระราชหฤทัย ตลอดจนพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในการวางรากฐานทางการแพทย์ทั้งด้านการรักษา การเรียนการสอน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ พระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปฏิบัติล้วนเป็นหิตานุหิตประโยชน์ แก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขของไทย จึงทรงได้รับการประกาศถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยทรงได้รับการยกย่องเป็น “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย” 

จากพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยซึ่งล่วงเวลากว่า ๑๐๐ ปี ยังผลให้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของการแพทย์และสาธารณสุขไทย และมีความเจริญไพบูลย์ เป็นที่บำบัดทุกข์จากโรคภัยให้กับประชาชนชาวไทยตลอดมา รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง กล่าว 

ทั้งนี้ โครงการบำเพ็ญประโยชน์เนื่องในวันมหิดล ประจำปี ๒๕๖๑ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย โดยได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ได้แก่ การทำบุญตักบาตร และบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พิธีวางพวงมาลา กิจกรรมเวทีสุขภาพและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันมหิดล 

ประมวลภาพ 

ข่าว/ภาพ : ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเนื่องในวันมหิดล Read More »

ระบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ

ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ขอความร่วมมือให้ผู้บริหาร พนักงานทุกท่าน ประเมินความพึงพอใจหน่วยงานที่ท่านได้ใช้บริการ เพื่อนำไปใช้ประกอบการประเมินหน่วยงานต่างๆ ต่อไป โดยเข้าสู่ระบบงานตาม URL https://hr.wu.ac.th/surveywu/ ตั้งแต่บัดนี้ ไปจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2561 

ระบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ Read More »

นักวิ่งและประชาชน จ.นครศรีฯ ร่วมงาน “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” สำนักวิชาสหเวชฯ ม.วลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดกิจกรรม “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ส่งเสริมความสำคัญของการรักษาสุขภาพและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน ณ ชาดหาดบ้านสูงบน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ รวมทั้งนักวิ่งจากชมรมวิ่งและประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า กิจกรรมวันนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของทุกคนและเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเทศไทยมีทะเลและหาดทรายที่สวยงามเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดการดูแลพัฒนา ต่างจากในหลายประเทศที่มีทะเลแต่ไม่มีชาดหาด ต้องสร้างชายหาดเทียมขึ้นมา จึงเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม 

นอกจากการได้สัมผัสกับทะเลและหาดทรายที่สวยงามในยามเช้าวันนี้แล้ว กิจกรรมในวันนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการพัฒนาชุมชน การบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ การประชาสัมพันธ์ชายหาดบ้านท่าสูงบนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงสุขภาพผ่านกิจกรรม “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หลักสูตร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรและประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพ การพัฒนาชุมชนและการปลูกจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในชุมชน สังคมและประเทศชาติ 

ขอให้ทุกท่านที่มาร่วมงานได้มีความสุขใจ จิตใจเบิกบานกับอากาศยามเช้า มีร่างกายที่แข็งแรงกับการวิ่งวันนี้ ที่มีระยะทางรวม ไป-กลับ ประมาณ 5 กิโลเมตร ขอขอบคุณชมรมนักวิ่งทุกชมรมที่มาร่วมงานในวันนี้ ขอบคุณศิษย์เก่าทุกท่าน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันนี้จะเป็นวลัยลักษณ์ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ มีความสำเร็จโดดเด่น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และจะทำให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันทุกคนเมื่อพูดถึงวลัยลักษณ์แล้ว ทุกคนจะต้องภาคภูมิใจ นี่คือความมุ่งมั่นและปรารถนาของเรา ขอให้งานในวันนี้ประสบความสำเร็จและขอให้ทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้มีจิตใจสดชื่นแจ่มใสและมีสุขภาพที่ดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว 

จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ได้นำคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา นักวิ่งและประชาชนร่วมวิ่งไปบนชายหาดเรียบทะเลบ้านท่าสูงบน เป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตรและร่วมกิจกรรมปฏิญาณตนของนักศึกษาใหม่ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์สาธารณ กิจกรรมการบริการวิชาการ “สหเวชศาสตร์ วลัยลักษณ์ มหกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 1” และการบริการสุขภาพต่างๆ จากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ การแสดงจากนักศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าสูงบนอีกด้วย 

ข่าวและภาพ โดย ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร

ประมวลภาพ 

นักวิ่งและประชาชน จ.นครศรีฯ ร่วมงาน “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” สำนักวิชาสหเวชฯ ม.วลัยลักษณ์ Read More »

ยอดเยี่ยม!! บัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ รุ่น17 สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ 100%

          รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ซึ่งจัดโดยสภาเทคนิคการแพทย์ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า มีบัณฑิตหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รุ่นที่ 17 เข้าสอบจำนวน 55 คน ผลปรากฏว่า บัณฑิตทั้ง 55 คน สามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพได้ทุกคน หรือผ่าน 100% นั่นเอง ทั้งนี้ตนขอชื่นชมในศักยภาพ ความสามารถ ความตั้งใจ มุ่งมั่นของบัณฑิตทุกคน และขอขอบคุณคณาจารย์ที่ทุ่มเทกำลังความสามารถในการสั่งสอน ถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้คำแนะนำปรึกษาและดูแลอย่างอบอุ่นใกล้ชิด 

    นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ มีผลสืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยได้นำระบบมาตรฐานการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และมาตรฐานการศึกษาระบบของอังกฤษ UKPSF, Smart classroom, Smart laboratory การเรียนแบบ Active learning, การประเมินติดตามผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง (Formative assesment) และการแลกเปลี่ยน สอบถาม สะท้อนกลับระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ (Feedback) ตลอดการเรียนทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น และสามารถสร้างสรรค์ นำไปประยุกต์ใช้ได้ และตระหนักรู้สู่การนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต 

         รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ปัจจุบันหลักสูตรเทคนิคการแพทย์มีความโดดเด่น เน้นสู่ความเป็นสากล โดยมีหลักเทคนิคการแพทย์วิชาการ และเทคนิคการแพทย์วิชาการก้าวหน้า เรียน 5 ปี ได้ 2 ปริญญา คือ 4 ปีแรกได้ปริญญาตรีเทคนิคการแพทย์ และต่อยอดทำวิจัยอีก 1 ปี ได้ปริญญาโททางชีวเวชศาสตร์ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายด้าน ได้แก่ การเป็นนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน หรือศูนย์แลบต่างๆ เปิดคลินิคแลบส่วนตัว เป็นนักวิชาการ อาจารย์ เป็นนักวิจัย ทำธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือ น้ำยาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และยังสามารถสอบใบอนุญาตเทคนิคการแพทย์นานาชาติไปทำงานในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ได้ ซึ่งสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ต้องการผลิตบัณฑิตที่เป็นทั้งคนดี คนเก่ง ซื่อสัตย์ มีวินัย มีคุณธรรม และมีความทันสมัยเป็นสากล สามารถทำงานกับต่างชาติได้ ในฐานะที่เป็นรักษาการคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และดูแลการผลิตบัณฑิตอย่างใกล้ชิด รู้สึกภาคภูมิใจที่ทีมบริหาร คณาจารย์ สามารถส่งลูกศิษย์เป็นบัณฑิตสู่ฝั่งฝัน สอบผ่านใบประกอบวิชีพผ่านทุกคน 100% ทุกคนคืออนาคตของชาติ ของระบบสาธารณสุขไทยที่จะเป็นกลไกในการดูแลสุขภาพประชาชนในอนาคต 

ทั้งนี้การสอบใบประกอบวิชาชีพดังกล่าวประกอบด้วยการสอบใน 7 รายวิชาหลักคือ 1)รายวิชากฏหมายและมาตรฐานวิชาชีพ 2)เคมีคลินิก 3)จุลชีววิทยาคลินิก 4)เวชศาสตร์การบริการโลหิต 5)ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก 6)จุลทรรศนศาสตร์คลินิกและปรสิตวิทยา และ7)โลหิตวิทยา 

ข่าวโดยนายธีรพงศ์ หนูปลอด ส่วนสื่อสารองค์กร

ยอดเยี่ยม!! บัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ รุ่น17 สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ 100% Read More »