หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ (Bilingual)

หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและชุมชน โดยหลักสูตรฯ มีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดความชำนาญในทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะบริหารจัดการ ทักษะสื่อสารภาษาสากลและสารสนเทศ ก้าวทันวิทยาการ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเข้าใจบทบาทเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน การประชาสัมพันธ์วิชาชีพ สามารถประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัย ออกแบบงานวิจัยและการผลิตนวัตกรรม คิดวิเคราะห์ และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ แบบทวิภาษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ แบบทวิภาษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ปรับปรุงครั้งที่ 1/2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1 วัตถุประสงค์ทั่วไปเช่นเดียวกับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 2 วัตถุประสงค์เฉพาะมีทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งพูด อ่าน เขียน และวิเคราะห์ความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ วิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อตอบสนองความต้องการบัณฑิตที่สามารถสื่อสาร ทำงานร่วมกับชาวต่างประเทศได้ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการแบบทวิภาษา นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแล้ว หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ แบบทวิภาษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ปรับปรุงครั้งที่ 1/2560) ยังมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1 วัตถุประสงค์ทั่วไปเช่นเดียวกับหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ 2 จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง วัตถุประสงค์เฉพาะ มีทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งพูด อ่าน เขียน และวิเคราะห์ความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ วิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อมุ่งเข้าสู่การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทหรือปริญญาเอก) ในสาขาชีวเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่จะมีความร่วมมือกันในอนาคต ลักษณะการเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ ปริญญาตรีทางวิชาการและปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ โดยทั้ง 2 รูปแบบมีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสาขาต่างๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและวิทยาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาศาสตร์การบริการโลหิตโลหิตวิทยาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก เคมีคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ปรสิตวิทยา พิษวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาระดับโมเลกุลมนุษย์ พันธุศาสตร์เซลล์ พันธุศาสตร์เทคโนโลยีเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ การทดสอบทางสรีรวิทยาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ระดับยาและสารเคมี การปฏิบัติงานร่วมกับทีมสุขภาพทั้งในองค์กรและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและการฝึกงานในสถานการณ์จริงไปใช้ในการตรวจ ทดสอบวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รายงานผลการตรวจตลอดจนการให้คำปรึกษา แนะนำที่เหมาะสม เพื่อการวินิจฉัยติดตามการรักษาพยากรณ์โรคและป้องกันโรคหรือประเมินภาวะสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอกจากนี้หลักสูตรยังมุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางปัญญาความสามารถในการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงระบบการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งเสริมและปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตเป็นคนเก่งและคนดีและสามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์1.มีความรู้ และทักษะในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ วิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิต และพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพเทคนิค การแพทย์ ที่จะค้นคว้า และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลง ของสังคม เพื่อนำมาใช้กับการทำงานในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ การศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ให้ คำปรึกษา แนะนำ หรืออธิบายเกี่ยวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่บุคลากรทางการแพทย์ได้/ มีศักยภาพในการเรียนรู้ และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ และการดูแลสุขภาพ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ 2.มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเอง ผู้ใช้บริการ เพื่อนร่วมงานและมีความ รับผิดชอบต่อสังคมโดยยึดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 3.มีทักษะทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์ ตลอดจนมีการ เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาตนและพัฒนางานให้กับองค์กร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ ทีมสุขภาพ และชุมชน สามารถเชื่อมโยงบริบททางวิชาชีพสู่การดูแลสร้างเสริมสุขภาพ 5.มีทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มสุขภาพชุมชน มีทักษะความสามารถเชิงตัวเลขและการจัดการ เพื่อสนับสนุน และ พัฒนาการปฏิบัติงานในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถถ่ายทอดความรู้และอธิบายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนเข้าใจเป็นอย่างดี สามารถ ประชาสัมพันธ์ให้คนอื่นๆ รู้จักวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และความสำคัญของวิชาชีพ สามารถใช้ เครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 6.มีทักษะความสามารถด้านการประมวลความรู้ บูรณาการสู่การปฏิบัติในวิชาชีพ การนำความรู้สู่ ชุมชน ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 7.สามารถทำวิจัยเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหา พัฒนา และ/หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในสาขาวิชาชีพ
แนวทางการประกอบอาชีพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถขอสอบเพื่อขึ้นทะเบียนอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จากสภาเทคนิคการแพทย์ ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานตรวจสุขภาพ หน่วยงานระบบสุขภาพในระดับปฐมภูมิ เป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และน้ำยาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือเป็นนักวิชาการ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น เปิดสถานประกอบการให้บริการการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เป็นผู้ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ หรือ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพในบริษัท แนวทางการศึกษาต่อในอนาคตสำหรับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการจะมีการเรียนรายวิชาที่เตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มอีก 15 หน่วยกิตไตรภาค นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ แผน ก แบบ ก2 โดยเทียบโอนรายวิชาและลงทะเบียนเรียนวิทยานิพนธ์อีก 1 ปีการศึกษา จึงจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท นอกจากนี้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิชาการ ยังสามารถที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาขาที่เกี่ยวข้องหลายสาขา อาทิ เทคนิคการแพทย์ พยาธิวิทยาคลินิก ชีวเวชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ชีวเคมี จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก พันธุศาสตร์ ชีววิทยาระดับโมเลกุล เทคโนโลยีชีวภาพ และวิศวกรรมทางการแพทย์ เป็นต้น
ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 48,900 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 586,800 บาท โครงสร้างของหลักสูตร
หมวดวิชา |
จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรปริญญาตรี |
||||
---|---|---|---|---|---|
ทางวิชาการ |
แบบก้าวหน้าทางวิชาการ |
ทางวิชาการ (ทวิภาษา) |
แบบก้าวหน้า ทางวิชาการ (ทวิภาษา) |
||
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
172 |
187 |
172(98E) |
187(98E) |
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
40 |
40 |
40(36E) |
40(36E) |
|
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร |
20 |
20 |
20(16E) |
20(16E) |
|
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
8 |
8 |
8(8E) |
8(8E) |
|
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
8 |
8 |
8(8E) |
8(8E) |
|
กลุ่มวิชาบูรณาการ |
4 |
4 |
4(4E) |
4(4E) |
|
กลุ่มวิชาสารสนเทศ* |
4 |
4 |
4(4E) |
4(4E) |
|
หมวดวิชาเฉพาะ |
124 |
139 |
124 |
139 |
|
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ |
42 |
42 |
42(19E) |
42(19E) |
|
กลุ่มวิชาชีพ |
82 |
82 |
82(43E) |
82(43E) |
|
กลุ่มวิชาเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ (หมวดวิชาบังคับ) |
0 |
10 |
0 |
10 |
|
กลุ่มวิชาเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ (หมวดวิชาเลือก) |
0 |
5 |
0 |
5 |
|
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า |
8 |
8 |
8 |
8 |