ข่าวเด่น

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ ระดับชาติและนานาชาติทางชีวเวชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ (National and International Conferences on Biomedical Sciences and Medical Technology 2019: Research and Innovation for Health)

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติทางชีวเวชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ (National and International Conferences on Biomedical Sciences and Medical Technology 2019: Research and Innovation for Health) ขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพและการอยู่ดีมีสุข ให้เป็นที่รู้จักและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเปิดโอกาสการพบปะของนักวิชาการ นักวิจัย และหน่วยงานต่างๆ และการสร้างภาคีเครือข่ายทางด้านการวิจัยและวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของสำนักวิชาฯ ด้านการวิจัยที่พร้อมจะก้าวสู่สากลต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิชาการและวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ เผยแพร่และ แลกเปลี่ยนความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งประสบการณ์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นิสิต นักศึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งในและต่างประเทศ
2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยและความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่สากล

Scope of Conference

การประชุมประกอบด้วยการบรรยาย การเสวนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งเปิดให้ผู้เข้าร่วมการประชุมนำเสนอ ผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ การนำเสนอด้วยวาจา แบ่งเป็น 2 ห้องย่อยสำหรับการบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับนักวิจัย นักศึกษา อาจารย์ และนักเทคนิคการแพทย์ ดังนี้

  • Research and innovations towards sustainable health.
  • Recent advance technology in biomedical sciences.
  • Infectious and non-infectious diseases
  • Genomic and precision medicine
  • Innovation in laboratory technology
  • Recent advances in infertility treatment
  • Metal toxic mechanisms and detox strategies
  • Routine to research (R2R) & Routine to market (R2M

วิทยากร นักวิจัยที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ ร่วมการบรรยายทางวิชาการดังนี้

  • Molecular genetics of Alzheimer’s’ diseases โดย Dr. Steven Estus, University of Kentucky, USA
  • Health Care & High Quality of Life Towards the CVD Patients โดย Prof. Dr. Manikandan Panchatcharam; LSU Health Sciences Center, USA
  • Metal Toxic Mechanisms and Detox Strategies โดย Dr. Soisangwan Satarug ; University of Queensland, Brisbane, Australia
  • Melioidosis โดย Prof. Dr. Apichai Tuanyok, University of Florida, USA
  • Melioidosis: Clinical Investigation and Treatment โดย Prof. Dr. Sarunyu Chusri, Prince of Songkla University
  • Current Advancement in Medical Laboratory Technology in Japan Assoc. โดย Dr. Yoshiko Kudo; The International University of Health and Welfare, Japan
  • Current Advancement Medical Laboratory Technology Practices Toward Thailand Innovation 4.0 โดย   Opas Kankawinpong, Director general, Department of Medical Sciences, Public Health Ministry
  • Precision Medicine and Its Related to Medical Technology 4.0 โดย Salakchit Chutiphongwiwet; Association of Medical Technology of Thailand
  • Advance and Research in Medical Parasitology โดย Prof. Dr. Theerakamol Pengsakul; Faculty of Medical Technology, Prince of Songkla University
  • Thai Genome โดย Warangkhana On-Suang; Medical Sciences Department, Ministry of Public Health
  • MOPH: The Best Practice of Laboratory Quality Standard โดย Patravee Soisangwan; Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health
  • Quality Assurance for Best Practices Laboratory โดย Ranee Tade-in, MT Yala Hospital

ผู้เข้าร่วมประชุมที่ส่งผลงานจะได้รับการพิจารณาการตีพิมพ์ผลงานฉบับเต็มในรายงานการประชุม (Proceeding) และวารสาร Walailak Journal of Science and Technology (WJST)

ผู้สมัครที่มีใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เมื่อเข้าร่วมประชุมครบตามที่กำหนดจะได้รับคะแนน CMTE 10.5 คะแนน

ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมลงทะเบียนได้ที่ http://icbms-mt.wu.ac.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
รองศาสตราจารย์ ดร. มนัส โคตรพุ้ย โทรศัพท์ +66 (0) 7567 2137 หรือ +66 (0) 95439 2469 email :icmbs.mt2019@gmail.com

 

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ ระดับชาติและนานาชาติทางชีวเวชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ (National and International Conferences on Biomedical Sciences and Medical Technology 2019: Research and Innovation for Health) Read More »

ประกาศ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2561 (ทุนภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาวิชาการและการวิจัยด้านเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ และ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ (ทวิภาษา) ระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ บริษัท เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ จำกัด)

 
          สืบเนื่องจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาวิชาการและการวิจัยด้านเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ และหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ (ทวิภาษา) ระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ บริษัท เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์ จำกัด นั้น สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ โดยคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรทุนการศึกษาฯ ข้างต้น ได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้สมัครเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ผลปรากฏว่า นายเบญจเสฏฐ์ จันทร์งาม นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ (ทวิภาษา) ชั้นปีที่ 1 เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนการศึกษาภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในปีการศึกษา 2561 อนึ่ง เงื่อนไขการรับทุนการศึกษาฯ เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ และเอกสารแนบท้ายบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ข้อ 3 การสนับสนุนและงบประมาณ
ประกาศโดย..สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ประกาศ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2561 (ทุนภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาวิชาการและการวิจัยด้านเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ และ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ (ทวิภาษา) ระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ บริษัท เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ จำกัด) Read More »

ผศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการอบรม”สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)

          ผศ.ดร.ยุวดีวิทยพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และ ผศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการอบรม”สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ระหว่างวันที่ 17-21ธันวาคม 2561 ณ โรงแรมทินิดี จ.ระนอง โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนระนอง

ผศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการอบรม”สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) Read More »

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ University of Kentucky, USA

"รศ.ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเจรจาและลงนามความร่วมมือกับ Professor Dr. Allan Butterfield, Professor Dr. Steven Estus, Professor Dr. Christopher Norris, Sanders-Brown Aging Center และ Professor Dr.Daret St Clair, Marky Cancer Center, University of Kentucky, USA เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่และนักศึกษา โดยกิจกรรมแรกของความร่วมมือ คือการส่งอาจารย์รุ่นใหม่ของสำนักวิชาสหเวชฯ มวล.ไปศึกษาวิจัยด้าน Cancer เป็นระยะเวลา 1 ปี ณ University of Kentucky ในเดือนมกราคม 2562 – ธันวาคม 2562"

#WUSAH #WALAILAKUNIVERSITY

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ University of Kentucky, USA Read More »

คณะผู้บริหาร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562

         รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหารของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ อาจารย์ ดร.นิธิตา ปิยอมรพันธุ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ ดร.วรรณิศา คุ้มบ้าน หัวหน้าสาขาวิชากายภาพบำบัด อาจารย์ ดร.ประภัสสร เส้งสุ้น หัวหน้าคลินิกกายภาพบำบัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา กวานเหียน หัวหน้าคลินิกเทคนิคการแพทย์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 101 อาคารวิชาการ 3

          พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์การสร้างความเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ในปีงบประมาณ 2562 แล้วจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานไว้เป็นข้อตกลงร่วม เพื่อการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อไป ซึ่งแนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานนั้น ให้ระบุค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ภารกิจหลักของสำนักวิชาฯ และผลสำเร็จตามนโยบายเร่งด่วนของอธิการบดี/มหาวิทยาลัยที่กำหนดตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คณะผู้บริหาร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 Read More »

รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ “Research Fellow Award”

รองศาสตราจารย์ พญ. วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับเชิญ เป็น "Panelist Speaker" ในที่ประชุม The Asia Pacific Consortium of Researchers and Educators International Conference 2018 หัวข้อ "Advancing Multidisciplinary Research towards a Spectrum of Opportunities" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2561 ณ The Westin Resort Guam ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ในโอกาสเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ พญ. วีระนุช นิสภาธร ยังเป็น 1 ใน 10 ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับ The Dr. Matthew Eichler Research and Education Awards โดยได้รับรางวัล "Research Fellow Award" พร้อมได้กล่าวสุนทรพจน์ขอบคุณต่อที่ประชุม
 

I am pleased, honored and humbled to accept this award and to join past recipients whom I have long admired and respected.

– A very special thanks to the “Asia Pacific Consortium of Researchers and Educators (APCoRE) Board for selecting me and befit this citation.

– Thank you also to those who nominated me and supported my nomination.
And, of course, thank you to my family and friends, University of Malaya, Malaysia and Walailak University, Thailand for always supporting me. In part, I would like to give you a little perspective on my life as an educator:
I worked for nearly 2 decades at the University of Malaya, Malaysia, beginning as a naïve academic lecturer at the Department of Parasitology, Faculty of Medicine. Having a background as a medical doctor, it was such an incredible journey to work outside my home country-Thailand. This was a challenging experience to groom myself in transforming from a plain medical doctor to a teacher, who transferred knowledge to students in the same field. And indeed, what a gift to me that throughout my years at the University of Malaya, I had the opportunity to get to learn not only in teaching (e.g., the old, new integrated curriculum and e-learning based curriculum management system modules-UMMP) for undergraduate medical students, Master programs (e.g., MSc (Parasitology) and Master of Pathology) and PhD levels for postgraduate students and as a visiting Professor in Centro Escolar University, Philippines and Walailak University, Thailand. The experiences geared me to broaden my horizon not only dealing with students of different educational and cultural backgrounds who were eager to learn but also various research aspects related to “Clinical Tropical Medicine” with a special focus on medical parasitology. The challenges I accepted, helped me in uplifting my skill and expertise at international levels in various aspects from publications, speakerships (e.g., Keynote, Plenary, invited), editorial board member, peer reviewer, associate and guest Editors. I find myself in those experiences, also provided me the opportunities to improve the well-being of communities that I met in so many ways.

Walailak University is under the leadership of Professor Dr. Sombat Thamrongthayawong and his dedicated team. Our university is currently in the process of transforming from a conventional teaching to a new paradigm using UKPSF-HEA as a standard recognized framework of teaching and learning support. Interestingly, WU is also rapidly moving to become a Research University. I first joined Walailak University about a year ago, and in that time I have witnessed the growing trend of this institution to be more focused on research activities and encouraging international collaboration foreseeing and seeking greater recognition. In education, there is no boundary and barrier to limit what we can achieve. In my teaching career, I have the opportunity to share valuable teaching experiences with both local and international (e.g., ASEAN) students to pave way for student exchange activities.

In closing, I would like to add that UM and WU which I have the opportunity to work with scientific and cultural facilities, have made me realize a greater appreciation in this diverse yet exceptional excellence that enriched my teaching career and to work with individuals who bring their talent and expertise contributing milestones to these two(2) universities. Overall, we must continue to work together as a united group in making the scientific and cultural communities as significant players in education, economic development, tourism, health and human welfare and build innovative communities.

May we all continue to work together, nurture and support each other and help transform our higher learning institutions as a dynamic, creative place to live and work, I would like to end in this pondered quote:

As Albert Einstein says: “Education is not the Learning of Fact but the Training of the Mind to Think”.
My heartfelt Thank you to everyone.

รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ “Research Fellow Award” Read More »

ขอแสดงความยินดี กับทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow”

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่อทีม TriOCINรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัยกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ประจำเดือนตุลาคม 2561

โพสต์โดย Sudarat Manajit เมื่อ วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2018

 

               ทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow”

       TriOCIN เป็นผลงานประดิษฐ์ที่ได้มาจากงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์  TriOCIN ผลิตภัณฑ์ที่มีแบคทีริโอซินเพื่อใช้ป้องกันการเกิดสิว มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุของฝีหนองบริเวณผิวหนังด้านนอกร่างกายได้อย่างดี และชิ้นงานต้นแบบได้ถูกนำไปเสนอในกิจกรรม DEMO DAY ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ กรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการ Innovative Startup เมื่อวันที่ 16 – 20 พฤษภาคม 2561 อีกทั้ง TriOCIN ยังไปคว้ารางวัล Euglena award ในเวทีแข่งขัน Tech Plan Demo Day 2018 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมถึงทีมวิจัยได้มีโอกาสเข้าไปร่วมโครงการอบรมการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตให้กับ Deep Tech Startup (SPRINT Acceleration Program 2018) นอกจากนี้ทีมนักศึกษา TriOCIN ยังได้รับรางวัลนักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้สำนักวิชา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 และรางวัลนักศึกษาดีเด่น ด้านวิชาการ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561โดยรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถเข้าไปติดตามงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของผลิตภัณฑ์ ได้ทางช่องทางออนไลน์ ของ Line Official ชื่อ TriOCIN Official (id:@Triocin) และfacebook Fanpage ชื่อTriOCIN (https://www.facebook.com/Triocin-1824144 59053930/?Ref =br_t)

           องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (วารสารระดับชาติ ในกลุ่ม TCI Q1) และนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ในงานประชุมระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งที่ 44 (Stt44) ในวันที่ 29-31 ตุลาคม 2561

         โดยกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานและสามารถนำแนวคิดจากผลงานการประกวดไปใช้ได้จริงต่อไปในอนาคต โดยจะมีการกำหนดโจทย์รายเดือน 1 หัวข้อต่อ 1 เดือน  (พ.ค.- ธ.ค. 61) จากธนาคารออมสิน ให้นักศึกษาทำคลิปวิดิโอความยาวไม่เกิน 3 นาทีส่งเข้าประกวดเพื่อชิงทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวม 20,000 บาท และส่งต่อนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับมหาวิทยาลัยเข้าประกวดในระดับประเทศต่อไป เพื่อชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 110,000 บาท

ขอแสดงความยินดี กับทีม TriOCIN ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมหาวิทยาลัย จากกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Start up ประจำเดือน ตุลาคม 2561 ในโจทย์ “ IDEA WOW สร้างสินค้าและบริการ สำหรับสุภาพสตรี wow wow wow” Read More »

นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B)

    ขอแสดงความยินดีกับทีม Naked Eye โดยมี นางสาวรุ่งนภา กรีทอง นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในที่ปรึกษาของ อาจารย์ ดร.อรวรรณ สาระกุล ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B) จำนวน 350,000 บาท  (สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)  หลังจากการนำเสนอแผนการพัฒนาธุรกิจของผลิตภัณฑ์ “ชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี” ในกิจกรรม G2B Boost up ต่อกรรมการบริหารโครงการ ฯ ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 โดยได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

           เอนไซม์จีซิกพีดีเป็นเอนไซม์สำคัญที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี(G6PD deficiency) เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี เม็ดเลือดแดงจะแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระ เช่น การได้รับยาบางชนิด สารเคมี การติดเชื้อ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ไตล้มเหลว ตัวเหลืองตาเหลือง โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางสมอง (Kernicterus) ได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิพีดีจะตรวจในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองตาเหลือง หรือผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะต้องให้อุปกรณ์ที่จำเพาะ Naked Eye จึงพัฒนาชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี เพื่อให้สามารถใช้ได้ง่าย สะดวก ลดอุปกรณ์ ระยะเวลา สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลดต้นทุนได้ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีได้กว้างขวางขึ้น และผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จะได้มีข้อมูลเพื่อป้องกันตนเองจากการรับและสัมผัสสารที่มีผลต่อการแตกของเม็ดเลือดแดงได้

นักศึกษาหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม G2B Boost up ภายใต้โครงการต่อยอดความคิดสร้างธุรกิจเทคโนโลยี (Graduate to Business: G2B) Read More »

นักศึกษากายภาพบำบัด คว้ารางวัลชมเชย สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ

เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้ม (FALLOWER exercise machine)

 

นักศึกษาสาขาวิชากายภาพบำบัด ประกอบด้วย นางสาวสุทารัตน์ พุฒทะพันธ์ นางสาวมัลลิกา หลีสวัสดิ์ และคณะ ร่วมกับนักศึกษาสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี อาจารย์ ดร.นิธิตา ปิยอมรพันธุ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นำนวัตกรรม “ เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้ม (FALLOWER exercise machine)” คว้ารางวัลชมเชย สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ระดับปริญญาตรี/ปวส. ในการเข้าร่วมประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2561) ซึ่งจัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ วันที่ 4 – 5 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้ม ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้สูงอายุทรงตัว เคลื่อนไหวและทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงหกล้ม นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมการเพิ่มระดับกิจกรรมทางกาย ลดภาวะติดบ้าน ติดเตียง ซึ่งมีผลส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิต นวัตกรรมนี้พัฒนาจากการใช้องค์ความรู้การรักษาทางกายภาพบำบัด ในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชากายภาพบำบัดชุมชน 2 เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้มสามารถทำงานได้หลายรูปแบบเพิ่มขึ้นจากเครื่องออกกำลังกายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และทำจากวัสดุหาง่าย กลไกไม่ซับซ้อนสามารถเป็นต้นแบบให้ชุมชนผลิตใช้เองได้

 

สามารถเข้าชมรายละเอียดผลงานได้ที่

https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2F3c.nia.or.th%2Ffrontend%2Fyouth.php%3Fnid%3D164&h=AT31F4zlwkjZ3q9ClBYQOqX1EQQ-ObIXrVAFbS_Vi7KN5gA7ZT-QQzV8m42dc9tc91LAe3Ff5C3ZTxIqodpLLq6sDJvP6rGPv-2Nooy_dMVxqMw6pfqqhsLVaUVfXqyHtsY

 

ภาพบรรยากาศงานประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2561)

นักศึกษากายภาพบำบัด คว้ารางวัลชมเชย สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ Read More »

นักวิ่งและประชาชน จ.นครศรีฯ ร่วมงาน “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” สำนักวิชาสหเวชฯ ม.วลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดกิจกรรม “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ส่งเสริมความสำคัญของการรักษาสุขภาพและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน ณ ชาดหาดบ้านสูงบน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ รวมทั้งนักวิ่งจากชมรมวิ่งและประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า กิจกรรมวันนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของทุกคนและเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเทศไทยมีทะเลและหาดทรายที่สวยงามเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดการดูแลพัฒนา ต่างจากในหลายประเทศที่มีทะเลแต่ไม่มีชาดหาด ต้องสร้างชายหาดเทียมขึ้นมา จึงเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม 

นอกจากการได้สัมผัสกับทะเลและหาดทรายที่สวยงามในยามเช้าวันนี้แล้ว กิจกรรมในวันนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการพัฒนาชุมชน การบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ การประชาสัมพันธ์ชายหาดบ้านท่าสูงบนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงสุขภาพผ่านกิจกรรม “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หลักสูตร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรและประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพ การพัฒนาชุมชนและการปลูกจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในชุมชน สังคมและประเทศชาติ 

ขอให้ทุกท่านที่มาร่วมงานได้มีความสุขใจ จิตใจเบิกบานกับอากาศยามเช้า มีร่างกายที่แข็งแรงกับการวิ่งวันนี้ ที่มีระยะทางรวม ไป-กลับ ประมาณ 5 กิโลเมตร ขอขอบคุณชมรมนักวิ่งทุกชมรมที่มาร่วมงานในวันนี้ ขอบคุณศิษย์เก่าทุกท่าน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันนี้จะเป็นวลัยลักษณ์ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ มีความสำเร็จโดดเด่น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และจะทำให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันทุกคนเมื่อพูดถึงวลัยลักษณ์แล้ว ทุกคนจะต้องภาคภูมิใจ นี่คือความมุ่งมั่นและปรารถนาของเรา ขอให้งานในวันนี้ประสบความสำเร็จและขอให้ทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้มีจิตใจสดชื่นแจ่มใสและมีสุขภาพที่ดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว 

จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ได้นำคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา นักวิ่งและประชาชนร่วมวิ่งไปบนชายหาดเรียบทะเลบ้านท่าสูงบน เป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตรและร่วมกิจกรรมปฏิญาณตนของนักศึกษาใหม่ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์สาธารณ กิจกรรมการบริการวิชาการ “สหเวชศาสตร์ วลัยลักษณ์ มหกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 1” และการบริการสุขภาพต่างๆ จากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ การแสดงจากนักศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าสูงบนอีกด้วย 

ข่าวและภาพ โดย ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร

ประมวลภาพ 

นักวิ่งและประชาชน จ.นครศรีฯ ร่วมงาน “เดิน-วิ่ง กินลมชมเล” สำนักวิชาสหเวชฯ ม.วลัยลักษณ์ Read More »