ไม่มีหมวดหมู่

5ส Green สหเวชศาสตร์

โครงสร้างคณะกรรมการ 5ส
การแบ่งพื้นที่และผู้รับผิดชอบ
แผนผังห้องสำนักงานคณบดี
แผนการดำเนินงานและเป้าหมาย 5ส Green สำนักวิชาสหเวชศาสตร์
คู่มือ 5ส
มาตรฐานกลาง 5ส
ผลคะแนน Self-audit
ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ รอบประเมิน 2565
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน 5ส Big Cleaning

วันที่ 21 เมษายน 2566

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566

ภาพกิจกรรมหลังจาก Big Cleaning

5ส Green สหเวชศาสตร์ Read More »

MoveSe-WU

Few days to go for SAH International Conference 2022 | Allied Health Sciences for Health and Wellbeing in the Post COVID Pandemic
Topic: Updated Clinical Experience in Physical Therapy Management for Patients with COVID-19
Keynote Speaker:
Prof. Rik Gosselink, PT, Ph.D.
Invited Speaker:
Assoc. Prof. Chulee Jones, PT, Ph.D.
and Khomkrip Longlalerng, PT, Ph.D.

 

MoveSe-WU Read More »

CERM

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศโรคเมลิออยโดสิสและเชื้อจุลชีพ ขอเชิญทุกท่านท่สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ
SAH International Conference 2022 “Allied Health Sciences for Health and Wellbeing in The Post COVID Pandemic”

📣ใน Session “Research Paradigms for Infectious Diseases after Covid-19 Pandemic”

📌ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2565 รูปแบบการประชุมเสมือนจริงออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ในงานประกอบด้วย
– Keynote Speakers
– Invited Speakers
– Oral presentation and outstanding award conpetition
– Special issue ของวารสาร Trends in Sciences (SCOPUS Q3)

📌ค่าลงทะเบียน
– ผู้เข้าร่วม…ฟรี!!!!
– ผู้นำเสนอผลงานทั่วไป 30 USD (นักศึกษา 15 USD)

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่
https://sah.wu.ac.th
**************************************************
📣 School of Allied Health Sciences, Walailak University in cooperation with Center of Excellence Research for Melioidosis and Microorganism invite people who is interested to join in the international conference.

📣SAH International Conference 2022 “Allied Health Sciences for Health and Wellbeing in The Post COVID Pandemic” in the session of “Research Paradigms for Infectious Diseases after Covid-19 Pandemic”

📌On March 28-29, 2022 virtual conference via Zoom meeting

📌In this conference
– Keynote Speakers
– Invited Speakers
– Oral presentation with outstanding award competition
– Special issue of Trends in Sciences (SCOPUS Q3)

CERM Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา WUQA ประจำปีการศึกษา 2563 ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับ ดีมาก

         เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์โดยท่านคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลาการฝ่ายสนับสนุน ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน WUQA ระดับสำนักวิชา ผ่านระบบการประชุมเสมือนจริง Zoom ซึ่งคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินในครั้งนี้ประกอบด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี เดชะปัญญา      ประธานกรรมการ

อาจารย์ ดร.ปรเมท เหมรชตนนท์                กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี อิ่มศรี              กรรมการและเลขานุการ

โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ได้รับผลการตรวจประเมินฯ ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนตามตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้

S1 การนำองค์กร       คะแนน 5.00

S2 การจัดการศึกษา   คะแนน 4.75

S3 การวิจัย               คะแนน 4.73

S4 การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คะแนน 5.00

S5 การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา คะแนน 4.70

 

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา WUQA ประจำปีการศึกษา 2563 ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับ ดีมาก Read More »

ยกระดับสุขภาพชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ลงพื้นที่จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

          พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการนำองค์ความรู้ด้าน Health Care ไปช่วยบริการชุมชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วยแผนงานหลัก ได้แก่ การตรวจการเกิดพิษจากการใช้ยาปราบศัตรูพืชในเกษตรกร การตรวจการติดโรคเมลิออยด์ในสุกรและเกษตรกรฟาร์มสุกร และการตรวจสมรรถภาพร่างกายและส่งเสริมความรู้ทางการยศาสตร์ในเกษตรกร (ชาวสวนและชาวประมง) เป็นต้น มุ่งเป้าให้เกษตรกรเป้าหมาย ทั้งชาวสวน ชาวประมง และผู้เลี้ยงสัตว์ ให้มีอาชีพดีแล้ว ยังต้องมีสุขภาพที่ดี เกิดการเฝ้าระวังสุขภาพและการบริหารจัดการควบคุม หรือความเสี่ยงในการทำงาน นำไปสู่การส่งเสริมป้องกันสุขภาวะกลุ่มแรงงาน ลดการสูญเสียรายได้จากการหยุดพักงาน และสามารถทำงานได้เป็นระยะเวลายาวนานขึ้น สู่เป้าหมายยกระดับตำบลให้ดีขึ้น สร้างระบบสุขภาพประจำตำบลที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลัก (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายข้อที่  3 “Good Health and Well-being” ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ได้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและนอกของมหาวิทยาลัย

          ในการนี้ คณะทำงานโครงการฯ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ลงพื้นที่เพื่อตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีเกษตรกรกลุ่มอาชีพที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ อาทิ กลุ่มชาวสวน ฝรั่ง พริก ผัก ในพื้นที่ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง กลุ่มชาวประมง พื้นที่แถบชายฝั่งทะเล ในตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง ตำบลหน้าสะตน ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร และกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ สุกร ในตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา คณะทำงานได้ออกแบบโปรแกรมการตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพฯ ที่มีความแตกต่างตามบริบทอาชีพของแต่ละพื้นที่ ดังนี้

1.การตรวจประเมินสุขภาพของเกษตรกร ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเลือด เบาหวาน ไขมัน การทำงานของตับไต) ตรวจสารพิษตกค้างในเลือด รวมทั้งการตรวจทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและหลัง ตรวจองค์ประกอบสัดส่วนร่างกาย (Body scan) และระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพการทำงานของปอด ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ

2.การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ในเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้อมูลการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชและประวัติสุขภาพของเกษตรกร การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่ออาการความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง เป็นต้น

3.ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้เกษตรกรเกิดความรู้และการเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตระหนักและสามารถการป้องกันตัวเองจากอันตรายจากสารเคมี ตลอดจนเกิดความรู้ ความเข้าใจการป้องกันดูแลตัวเองเพื่อลดการบาดเจ็บจากการทำงาน

         ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ กำลังดำเนินการตรวจและวิเคราะห์ผลสุขภาพของเกษตรกรเพี่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการเฝ้าระวังสุขภาพและการบริหารจัดการควบคุม หรือความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งให้บริการให้คำปรึกษา ในขั้นตอนการดำเนินงานขั้นต่อไป

ยกระดับสุขภาพชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Read More »