หน้าหลัก

CERM

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศโรคเมลิออยโดสิสและเชื้อจุลชีพ ขอเชิญทุกท่านท่สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ
SAH International Conference 2022 “Allied Health Sciences for Health and Wellbeing in The Post COVID Pandemic”

📣ใน Session “Research Paradigms for Infectious Diseases after Covid-19 Pandemic”

📌ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2565 รูปแบบการประชุมเสมือนจริงออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ในงานประกอบด้วย
– Keynote Speakers
– Invited Speakers
– Oral presentation and outstanding award conpetition
– Special issue ของวารสาร Trends in Sciences (SCOPUS Q3)

📌ค่าลงทะเบียน
– ผู้เข้าร่วม…ฟรี!!!!
– ผู้นำเสนอผลงานทั่วไป 30 USD (นักศึกษา 15 USD)

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่
https://sah.wu.ac.th
**************************************************
📣 School of Allied Health Sciences, Walailak University in cooperation with Center of Excellence Research for Melioidosis and Microorganism invite people who is interested to join in the international conference.

📣SAH International Conference 2022 “Allied Health Sciences for Health and Wellbeing in The Post COVID Pandemic” in the session of “Research Paradigms for Infectious Diseases after Covid-19 Pandemic”

📌On March 28-29, 2022 virtual conference via Zoom meeting

📌In this conference
– Keynote Speakers
– Invited Speakers
– Oral presentation with outstanding award competition
– Special issue of Trends in Sciences (SCOPUS Q3)

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา WUQA ประจำปีการศึกษา 2563 ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับ ดีมาก

         เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์โดยท่านคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลาการฝ่ายสนับสนุน ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน WUQA ระดับสำนักวิชา ผ่านระบบการประชุมเสมือนจริง Zoom ซึ่งคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินในครั้งนี้ประกอบด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี เดชะปัญญา      ประธานกรรมการ

อาจารย์ ดร.ปรเมท เหมรชตนนท์                กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี อิ่มศรี              กรรมการและเลขานุการ

โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ได้รับผลการตรวจประเมินฯ ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนตามตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้

S1 การนำองค์กร       คะแนน 5.00

S2 การจัดการศึกษา   คะแนน 4.75

S3 การวิจัย               คะแนน 4.73

S4 การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คะแนน 5.00

S5 การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา คะแนน 4.70

 

ยกระดับสุขภาพชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ลงพื้นที่จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

          พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการนำองค์ความรู้ด้าน Health Care ไปช่วยบริการชุมชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วยแผนงานหลัก ได้แก่ การตรวจการเกิดพิษจากการใช้ยาปราบศัตรูพืชในเกษตรกร การตรวจการติดโรคเมลิออยด์ในสุกรและเกษตรกรฟาร์มสุกร และการตรวจสมรรถภาพร่างกายและส่งเสริมความรู้ทางการยศาสตร์ในเกษตรกร (ชาวสวนและชาวประมง) เป็นต้น มุ่งเป้าให้เกษตรกรเป้าหมาย ทั้งชาวสวน ชาวประมง และผู้เลี้ยงสัตว์ ให้มีอาชีพดีแล้ว ยังต้องมีสุขภาพที่ดี เกิดการเฝ้าระวังสุขภาพและการบริหารจัดการควบคุม หรือความเสี่ยงในการทำงาน นำไปสู่การส่งเสริมป้องกันสุขภาวะกลุ่มแรงงาน ลดการสูญเสียรายได้จากการหยุดพักงาน และสามารถทำงานได้เป็นระยะเวลายาวนานขึ้น สู่เป้าหมายยกระดับตำบลให้ดีขึ้น สร้างระบบสุขภาพประจำตำบลที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลัก (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายข้อที่  3 “Good Health and Well-being” ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ได้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและนอกของมหาวิทยาลัย

          ในการนี้ คณะทำงานโครงการฯ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ลงพื้นที่เพื่อตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีเกษตรกรกลุ่มอาชีพที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ อาทิ กลุ่มชาวสวน ฝรั่ง พริก ผัก ในพื้นที่ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง กลุ่มชาวประมง พื้นที่แถบชายฝั่งทะเล ในตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง ตำบลหน้าสะตน ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร และกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ สุกร ในตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา คณะทำงานได้ออกแบบโปรแกรมการตรวจและบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพฯ ที่มีความแตกต่างตามบริบทอาชีพของแต่ละพื้นที่ ดังนี้

1.การตรวจประเมินสุขภาพของเกษตรกร ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเลือด เบาหวาน ไขมัน การทำงานของตับไต) ตรวจสารพิษตกค้างในเลือด รวมทั้งการตรวจทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและหลัง ตรวจองค์ประกอบสัดส่วนร่างกาย (Body scan) และระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพการทำงานของปอด ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ

2.การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ในเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้อมูลการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชและประวัติสุขภาพของเกษตรกร การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่ออาการความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง เป็นต้น

3.ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้เกษตรกรเกิดความรู้และการเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตระหนักและสามารถการป้องกันตัวเองจากอันตรายจากสารเคมี ตลอดจนเกิดความรู้ ความเข้าใจการป้องกันดูแลตัวเองเพื่อลดการบาดเจ็บจากการทำงาน

         ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ กำลังดำเนินการตรวจและวิเคราะห์ผลสุขภาพของเกษตรกรเพี่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการเฝ้าระวังสุขภาพและการบริหารจัดการควบคุม หรือความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งให้บริการให้คำปรึกษา ในขั้นตอนการดำเนินงานขั้นต่อไป

งานบริการวิชาการรับใช้สังคม “ฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชน” ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) จากเวทีคุณภาพฯ ม.ราชภัฏนครศรีฯ

          เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพัฒน์ นาวารัตน์ อาจารย์ ดร.จารุภา เลขทิพย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ เดินทางเข้ารับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices) ด้านบริการวิชาการ เรื่อง “โครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ” ในงานเวทีคุณภาพ สถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชิต สุขทร รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พร้อมเผยแพร่แสดงนิทรรศการแนวปฏิบัติที่ดี หรือ Good Practices จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนิลพยัคฆ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  
          “โครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ” โดยได้รับงบประมาณดำเนินการตามแผนงานโครงการสนับสนุนการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Social engagement) ประจำปี 2563 ภายใต้ Model การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบองค์รวม (holistic model) โดยยึดเป้าหมายสร้าง ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวม โดยใช้แบบจำลอง ต้นไม้แห่งความสุข (WU HAPPY TREE) ซึ่งประกอบด้วย 5 กิ่งสาขา ได้แก่ อาชีพดี สุขภาพดี ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมดี การศึกษาดี และสังคมวัฒนธรรมดี จากด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุแล้วและคาดว่าในปี 2564 จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete-aged society) จากสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทยพบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ในภาคใต้ จากจำนวนผู้สูงอายุดังกล่าวนี้มีส่วนหนึ่งที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงจากการเสื่อมสภาพของร่างกายและจากโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เกิดความพิการ ดังนั้น ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น นำร่องดำเนินการในพื้นที่ “ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ชุมชนคู่เคียงมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ดี สร้างเครือข่ายพัฒนาเป็นระบบการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ด้วยวิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินงานที่ดำเนินการตามหลัก PDCA เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 1) ผู้รับบริการ (ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง) ได้รับการแก้ไขความบกพร่องของร่างกายและฟื้นฟูสภาพ มีอาการดีขึ้น เช่น เคลื่อนไหวรยางค์ได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนจากผู้ป่วยติดเตียงเป็นติดบ้าน โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับบริการอาการดีขึ้นสูงถึงร้อยละ 75 ส่วนอีกร้อยละ 25 ยังคงมีการคงสภาพไม่ได้มีอาการแย่ไปกว่าเดิม และ 2) เกิดแกนนำผู้ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 6 คน ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมายเดิมได้ ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 1) เกิดระบบเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ลดข้อจำกัดการขาดแคลนบุคลากร (นักกายภาพบำบัด) ได้ 2) ผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นที่ต้องได้รับการฟื้นฟู มีแกนนำเข้าไปให้บริการ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งแนวทางการทำงานของโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายข้อที่ 3 “Good Health and Well-being” มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น ชุมชนและเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี แผนกกายภาพบำบัด รพ.ท่าศาลา แผนกกายภาพบำบัด รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าศาลาในการเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในกระบวนการออกแบบระบบการฟื้นฟูดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

          ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพัฒน์ นาวารัตน์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงาน ได้ขึ้นรับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ซึ่งกรอบและเกณฑ์การให้รางวัลแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งพิจารณาจากแนวปฏิบัติที่ดี  จำนวน 9 ด้าน ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านงานวิจัย ด้านงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารจัดการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบูรณาการงานตามพันธกิจ โดยคณะกรรมการพิจารณา และคัดเลือกเรื่องที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน ซึ่งโครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ เป็น 1 ใน 6 โครงการด้านแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริการวิชาการ ที่ได้รับคัดเลือก นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อีกทั้งเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานภายนอกได้มาพบปะกัน  และแลกเปลี่ยนประสบการณ์  เรียนรู้การดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้นไป

          อย่างไรก็ตาม ระบบเครือข่ายการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุดังกล่าว (โครงการ ปีที่ 1) เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้น เพื่อให้ระบบเครือข่ายการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลและฟื้นฟูได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืนด้วยชุมชนมีส่วนร่วม อันจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยสูงอายุทั้งรายใหม่ที่เกิดขึ้นและผู้ป่วยสูงอายุรายเก่าที่ยังต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ 2 จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาเครือข่ายและระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” เพื่อให้การดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุและมีระบบเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย ช่วยลดช่องว่างของปัญหาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ผลักดัน ระบบดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน: ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ โมเดล

 

          เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ อาจารย์ ดร.จารุภา เลขทิพย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนและลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ร่วมกับทีมสุขภาพพื้นที่ ณ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

         “โครงการพัฒนาเครือข่ายและระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ภายใต้การดำเนินโครงการวิชาการรับใช้สังคม (Social engagement) ประจำปี 2564 เป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากการเริ่มวางระบบดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุในปีที่ 1 ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ระบบเครือข่ายการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลและฟื้นฟูได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืนด้วยชุมชนมีส่วนร่วม อันจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยสูงอายุทั้งรายใหม่ที่เกิดขึ้นและผู้ป่วยสูงอายุรายเก่าที่ยังต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ด้วยการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุและมีระบบเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย ช่วยลดช่องว่างของปัญหาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางการทำงานดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายข้อที่ 3 “Good Health and Well-being” มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น ชุมชนและเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี แผนกกายภาพบำบัด รพ.ท่าศาลา แผนกกายภาพบำบัด รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าศาลาในการเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในกระบวนการออกแบบระบบการฟื้นฟูดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

          ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ได้นำเสนอการดำเนินการและผลผลิตโครงการที่เกิดขึ้น ปี 2563 ได้แก่ การบริการทางกายภาพบำบัดแก้ไขความบกพร่องของร่างกายการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ นวัตกรรมสื่อความรู้สำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแล และแกนนำดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมและฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ได้นำเสนอกรอบแนวทางการดำเนินงาน กิจกรรมหลักของโครงการต่อเนื่องสำหรับปีที่ 2 และเปิดเวทีระดมความคิดเห็นเรื่องปัญหาเชิงระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน สถานการณ์ผู้ป่วยรายเก่า และรายใหม่ จำนวน กลุ่มโรค ปัญหาด้านร่างกายและจิตใจ องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการฟื้นฟู (เพิ่มเติม) มาตรฐานงานของ รพ.สต.ที่เกี่ยวข้องกับด้านการฟื้นฟูผู้ป่วย (โมเดลสุขภาพ) และรูปแบบกิจกรรมข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาโครงการ โดยที่ประชุมพร้อมร่วมกันเดินหน้าโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุที่มีปัญหาความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ได้ร่วมกิจกรรมดี ๆ เสริมพลังใจให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน พูดคุยให้คำแนะนำ และมอบของยังชีพ ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ จะรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะนำไปสังเคราะห์สำหรับการประชุมภาคีเครือข่ายและระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุ  ในขั้นตอนการดำเนินงานขั้นต่อไป