>> โปรเจ็ค ป.ตรี ก็มีดีกรีดังไกลถึงระดับชาติ :

 

โปรเจ็ค ป.ตรี ก็มีดีกรีดังไกลถึงระดับชาติ : ผลงานอาจารย์และนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านการคัดเลือกนำเสนอผลงานระดับชาติ ในวันนักประดิษฐ์ 2560

1.การปรับปรุงอาหารคัดเลือกและแยกเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีและแบคทีเรียที่ไม่หมักย่อยน้ำตาลกลูโคส

นักศึกษา :  นายวิจัยภานุวัฒน์  จีนชู น.ส.พิมลพรรณ คงประดิษฐ์ นส. รุ่งไพลิน จุลบุษรา

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ

แบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีทั้งกลุ่มหมักย่อยน้ำตาลแล็กโตส กลุ่มไม่หมักย่อยน้ำตาลแล็กโตส และแบคทีเรียไม่หมักย่อยน้ำตาลกลูโคส เป็นแบคทีเรียที่ล้วนพบอุบัติการณ์ก่อโรคที่สูงในผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่การจะแยกเชื้อทั้งสามออกจากกันได้โดยดูจากลักษณะโคโลนีนั้นไม่สามารถทำได้ในอาหารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ นายวิจัยภานุวัฒน์  จีนชู น.ส.พิมลพรรณ คงประดิษฐ์ นส. รุ่งไพลิน จุลบุษรา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จึงได้พัฒนาวุ้นอาหาร (JJK agar) เพื่อการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าอาหารเลี้ยงเชื้อเดิมใช้อยู่ ซึ่งจะลดข้อจำกัดและปัญหาของอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อแบบเดิม

2. ชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD

นักศึกษา: นายปิยะวิทย์   สาสุข  นางสาวรุ่งนภา กรีทอง  นางสาวสุภัทชา เปรมทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร.อรวรรณ สาระกุล

เอนไซม์ G6PD เป็นเอนไซม์สำคัญที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระได้ ภาวะพร่องเอนไซม์เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เม็ดเลือดแดงจะแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระ เช่น การได้รับยาบางชนิด สารเคมี ถั่วปากอ้า ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ไตล้มเหลว ตัวเหลืองตาเหลือง โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางสมอง (Kernicterus) ได้ ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ทำโดยวิธี Fluorescent spot test ซึ่งอ่านผลโดยดูการเรืองแสงของหยดเลือดที่ผสมกับน้ำยาหลังทำปฏิกิริยาภายใต้แสงยูวี ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดของห้องปฏิบัติการในด้านเครื่องมือ และความเชี่ยวชาญในการอ่านผล ทางคณะผู้จัดทำจึงได้พัฒนาชุดตรวจคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์ ให้สามารถทำได้ง่าย ลดอุปกรณ์ ระยะเวลา และสามารถอ่านผลจากการเปลี่ยนสีของเลือดหลังทำปฏิกิริยากับน้ำยาด้วยตาเปล่า และสามารถลดต้นทุนได้ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน

อ้างอิง

#R2M2017 #มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

http://inventorday.nrct.go.th/ewt_news.php?nid=147

http://inventorday.nrct.go.th/download/U3-1.pdf

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.