สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

งานบริการวิชาการรับใช้สังคม “ฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชน” ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) จากเวทีคุณภาพฯ ม.ราชภัฏนครศรีฯ

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพัฒน์ นาวารัตน์ อาจารย์ ดร.จารุภา เลขทิพย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ เดินทางเข้ารับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good practices) ด้านบริการวิชาการ เรื่อง “โครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ” ในงานเวทีคุณภาพ สถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชิต สุขทร รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พร้อมเผยแพร่แสดงนิทรรศการแนวปฏิบัติที่ดี หรือ Good Practices จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนิลพยัคฆ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

“โครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ” โดยได้รับงบประมาณดำเนินการตามแผนงานโครงการสนับสนุนการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Social engagement) ประจำปี 2563 ภายใต้ Model การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบองค์รวม (holistic model) โดยยึดเป้าหมายสร้าง ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวม โดยใช้แบบจำลอง ต้นไม้แห่งความสุข (WU HAPPY TREE) ซึ่งประกอบด้วย 5 กิ่งสาขา ได้แก่ อาชีพดี สุขภาพดี ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมดี การศึกษาดี และสังคมวัฒนธรรมดี จากด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุแล้วและคาดว่าในปี 2564 จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete-aged society) จากสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทยพบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ในภาคใต้ จากจำนวนผู้สูงอายุดังกล่าวนี้มีส่วนหนึ่งที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงจากการเสื่อมสภาพของร่างกายและจากโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เกิดความพิการ ดังนั้น ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น นำร่องดำเนินการในพื้นที่ “ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ชุมชนคู่เคียงมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ดี สร้างเครือข่ายพัฒนาเป็นระบบการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ด้วยวิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินงานที่ดำเนินการตามหลัก PDCA เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 1) ผู้รับบริการ (ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง) ได้รับการแก้ไขความบกพร่องของร่างกายและฟื้นฟูสภาพ มีอาการดีขึ้น เช่น เคลื่อนไหวรยางค์ได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนจากผู้ป่วยติดเตียงเป็นติดบ้าน โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับบริการอาการดีขึ้นสูงถึงร้อยละ 75 ส่วนอีกร้อยละ 25 ยังคงมีการคงสภาพไม่ได้มีอาการแย่ไปกว่าเดิม และ 2) เกิดแกนนำผู้ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 6 คน ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมายเดิมได้ ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 1) เกิดระบบเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ลดข้อจำกัดการขาดแคลนบุคลากร (นักกายภาพบำบัด) ได้ 2) ผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นที่ต้องได้รับการฟื้นฟู มีแกนนำเข้าไปให้บริการ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งแนวทางการทำงานของโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายข้อที่ 3 “Good Health and Well-being” มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น ชุมชนและเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี แผนกกายภาพบำบัด รพ.ท่าศาลา แผนกกายภาพบำบัด รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าศาลาในการเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในกระบวนการออกแบบระบบการฟื้นฟูดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพัฒน์ นาวารัตน์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงาน ได้ขึ้นรับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ซึ่งกรอบและเกณฑ์การให้รางวัลแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งพิจารณาจากแนวปฏิบัติที่ดี  จำนวน 9 ด้าน ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านงานวิจัย ด้านงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารจัดการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบูรณาการงานตามพันธกิจ โดยคณะกรรมการพิจารณา และคัดเลือกเรื่องที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน ซึ่งโครงการบริการชุมชนเพื่อการฟื้นฟูสู่การเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ เป็น 1 ใน 6 โครงการด้านแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริการวิชาการ ที่ได้รับคัดเลือก นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อีกทั้งเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานภายนอกได้มาพบปะกัน  และแลกเปลี่ยนประสบการณ์  เรียนรู้การดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ระบบเครือข่ายการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุดังกล่าว (โครงการ ปีที่ 1) เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้น เพื่อให้ระบบเครือข่ายการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลและฟื้นฟูได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืนด้วยชุมชนมีส่วนร่วม อันจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยสูงอายุทั้งรายใหม่ที่เกิดขึ้นและผู้ป่วยสูงอายุรายเก่าที่ยังต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ 2 จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาเครือข่ายและระบบการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” เพื่อให้การดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุและมีระบบเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย ช่วยลดช่องว่างของปัญหาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

ที่มาของข่าว : https://cas.wu.ac.th/archives/9807

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.