ข่าวเด่น

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา WUQA ประจำปีการศึกษา 2563 ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับ ดีมาก

         เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์โดยท่านคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลาการฝ่ายสนับสนุน ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน WUQA ระดับสำนักวิชา ผ่านระบบการประชุมเสมือนจริง Zoom ซึ่งคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินในครั้งนี้ประกอบด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี เดชะปัญญา      ประธานกรรมการ

อาจารย์ ดร.ปรเมท เหมรชตนนท์                กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี อิ่มศรี              กรรมการและเลขานุการ

โดยสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ได้รับผลการตรวจประเมินฯ ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนตามตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้

S1 การนำองค์กร       คะแนน 5.00

S2 การจัดการศึกษา   คะแนน 4.75

S3 การวิจัย               คะแนน 4.73

S4 การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คะแนน 5.00

S5 การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา คะแนน 4.70

 

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา WUQA ประจำปีการศึกษา 2563 ที่คะแนน 4.84 อยู่ในระดับ ดีมาก Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีและประธาน 5ส กรีน มวล. เป็นตัวแทนรับมอบเกียรติบัตร “หน่วยงานต้นแบบด้าน 5ส กรีน”

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ โดย รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีและประธาน 5ส กรีน มวล. เป็นตัวแทนรับมอบเกียรติบัตร “หน่วยงานต้นแบบด้าน 5ส กรีน” จากรองอธิการบดีฝ่ายบริหารในกิจกรรม “Show and Share Best Practice 5s 2021” วันที่ 20 ก.ย. 64 เวลา 13:00-15:30 น. ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา

https://sah.wu.ac.th

รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีและประธาน 5ส กรีน มวล. เป็นตัวแทนรับมอบเกียรติบัตร “หน่วยงานต้นแบบด้าน 5ส กรีน” Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ Medical Technology International Program, TCAS 2565 รอบที่ 1.1 Portfolio ตั้งแต่วันที่ 1-20 ก.ย. 64

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ Medical Technology International Program, TCAS 2565 รอบที่ 1.1 Portfolio ตั้งแต่วันที่ 1-20 ก.ย. 64 Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65

TCAS 2565 มาเเล้วจ้าาาาาา

🔴 ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขากายภาพบำบัด

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio

📣 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65

รับจำนวน 40 คน

สมัครได้ที่ https://entry.wu.ac.th

____________________________________

📣 คุณสมบัติผู้สมัคร TCAS65 รอบที่ 1 (Portfolio)

1) เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00 พร้อม Portfolio

เกรดเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชา

– วิทยาศาสตร์ 3.00 หรือ คณิตศาสตร์ 3.00

– ภาษาต่างประเทศ 3.00

2) แผนการเรียนวิทย์-คณิต

____________________________________

📣 รายละเอียดของ Portfolio

– ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม/ร่วมแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมหรือเป็นคณะทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และจิตสาธารณะ

– หลักฐานการได้รับรางวัล/เกียรติบัตร ในระดับจังหวัด ภูมิภาค หรือมีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ได้รับการ

ยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง

– เขียนเรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 หัวข้อวิชาชีพกายภาพบำบัดที่ฉันรู้จักและเหตุผลในการเลือกเรียน

– ใบรับรองแพทย์

____________________________________

ติดต่อ/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ เพจ FB : กายภาพบำบัด ม.วลัยลักษณ์

____________________________________

เข้าร่วมกลุ่มไลน์ : https://line.me/R/ti/g/KDIrt8eGNF

____________________________________

แล้วมาเป็นครอบครัวเดียวกันกันเรา #PTWU #กายภาพบำบัดวลัยลักษณ์ #DEKPT #TCAS65 #TCAS2565 #DEK65

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65 Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio  ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65

TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio มาเเล้วจ้าาาาาา
🔴 ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขาเทคนิคการแพทย์
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio
📣 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65
รับจำนวน 80 คน
สมัครและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://entry.wu.ac.th
____________________________________
📣 คุณสมบัติผู้สมัคร TCAS65 รอบที่ 1 (Portfolio)
1) เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00 พร้อม Portfolio
เกรดเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชา
– วิทยาศาสตร์ 3.00 และ
– คณิตศาสตร์ 3.00 และ
– ภาษาต่างประเทศ 3.00
2) แผนการเรียนวิทย์-คณิต
____________________________________
📣 รายละเอียดของ Portfolio
– ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว
– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม/ร่วมแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมหรือเป็นคณะทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และจิตสาธารณะ
– หลักฐานการได้รับรางวัล/เกียรติบัตร ในระดับจังหวัด ภูมิภาค หรือมีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง
– หลักฐานการแสดงถึงภาวะการเป็นผู้นำ
– หลักฐานผลงานศิลปะ ผลงานการออกแบบ หรือผลงานสิ่งประดิษฐ์ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
– เขียนเรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
"หัวข้อเทคนิคการแพทย์ที่ฉันรู้จักและเป้าหมายหลังเรียนจบเทคนิคการแพทย์"
– ใบรับรองแพทย์ (เพิ่มเติม ความเห็นแพทย์เกี่ยวกับสภาวะตาบอดสี)
____________________________________
ติดต่อ/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ เพจ FB : Medtech Walailak
https://www.facebook.com/MTWalailak/

ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ สาขาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ TCAS 2565 รอบที่ 1 Portfolio  ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 -31 ม.ค.65 Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พัฒนากล้าเชื้อผงปลาส้ม ช่วยผู้ประกอบการผลิตปลาส้มได้ทุกฤดูกาล

นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คิดค้นกล้าเชื้อผงปลาส้ม เพื่อผลิตปลาส้มที่มีคุณภาพคงที่ ลดระยะเวลาการผลิต ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและช่วยผู้ประกอบการสามารถผลิตปลาส้มได้ในทุกฤดูกาล

           รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล  เลิศคณาวนิชกุล  นักวิจัยและอาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ปลาส้มเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารหมัก ที่ประชาชนนิยมบริโภคในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ปลาส้มยังใช้การหมักแบบพื้นบ้าน (Tradition Fermented) จึงมักพบปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค  ตลอดจนระยะเวลาการหมักผลิตภัณฑ์ และรสชาติยังไม่คงที่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้  ดังนั้นเพื่อหาแนวทางการรักษาคุณภาพของการผลิตปลาส้มให้คงที่สม่ำเสมอ

           ทีมนักวิจัยของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จึงได้ร่วมกันคิดค้นกล้าเชื้อผงสำหรับผลิตปลาส้มขึ้น ด้วยการใช้กล้าเชื้อผงของแบคทีเรียแลคติก แทนการคัดเลือกจุลินทรีย์จากธรรมชาติที่มีปะปนมากับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตปลาส้ม เพื่อทำให้เกิดปลาส้มที่มีคุณภาพคงที่ ลดระยะเวลาการผลิต ลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคัญเพื่อให้สามารถยกระดับไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ในอนาคต

           รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล กล่าวถึงวิธีการผลิตผงกล้าเชื้อปลาส้มว่า เริ่มจากการเลี้ยงแบคทีเรียแลคติก  ซึ่งแยกได้จากปลาส้ม คือ แลคโตบาซิลลัส ซาลิวาเรียส (Lactobacillus salivarius) หรือ ลิวโคนอสต็อค มีเซ็นเทอรอยเดส (Leuconostoc mesenterodies) ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว ดีแมน-โรโกซ่า-ชาร์ป (de Mann-Rogosa-Sharpe) ที่อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4-6 วัน กระตุ้นให้เชื้อมีการเจริญเติบโตคงที่ และปั่นแยกเอาส่วนของตะกอนเชื้อมาใช้เตรียมเป็นกล้าเชื้อผงบนวัสดุยึดเกาะ 2 ชนิด คือ แป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว และได้เป็นกล้าเชื้อผงปลาส้มออกมา

           รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล กล่าวต่อไปอีกว่า กล้าเชื้อที่ผลิตออกมาสามารถผลิตได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบผง ของเหลว หรือแบบเม็ด แต่ที่นิยมใช้เป็นกล้าเชื้อผง เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและง่ายต่อการใช้งาน สามารถนำมาใช้เป็นกล้าเชื้อการหมักเพื่อควบคุมกระบวนการผลิต และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้  ซึ่งกล้าเชื้อผงนอกเหนือจะนำไปใช้ผลิตปลาส้มแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหัวเชื้อตั้งต้นในกระบวนการหมักเพื่อถนอมอาหารชนิดอื่นได้ เช่น  น้ำนมหมัก น้ำผลไม้โพรไบโอติก  เป็นต้น ที่สำคัญยังช่วยผู้ประกอบการสามารถผลิตปลาส้มได้ตลอดทั้งปี สามารถยกระดับไปสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป

           “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมผลิตสินค้าภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการผลิต OTOP นำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายศักยภาพทางการค้า รวมถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้าเชื้อผงปลาส้ม นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว ยังทำให้เกิดการบูรณาการการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และยังใช้เป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาในการเรียนการสอน และได้ฝึกปฎิบัติจริงกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้อีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญคือสามารถพัฒนาให้เกิดกลุ่มนักวิจัยขึ้นได้ในชุมชนแบบยั่งยืน” รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล กล่าว

 

   
 

ข่าวโดยนายธีรพงศ์ หนูปลอด ส่วนสื่อสารองค์กร

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พัฒนากล้าเชื้อผงปลาส้ม ช่วยผู้ประกอบการผลิตปลาส้มได้ทุกฤดูกาล Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ Nora serum “เซรั่มสารสกัดจากเปลือกมังคุดและส้มแขก ช่วยลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ”และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ Nora serum “เซรั่มสารสกัดจากเปลือกมังคุดและส้มแขก ช่วยลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ”และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ชาตาธิคุณ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์และสมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Innovation and Health Products มวล. เปิดเผยว่า ตนและทีมนักวิจัยจากมวล.และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกส้มแขกในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า สารสกัดจากเปลือกส้มแขกที่สกัดด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระและเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งเป็นเอนไซม์หลักในการสร้าง   เมลานินในผิวหนังชั้นนอกสุด อันเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำบนผิวหนัง และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเมลานินในเซลล์เมลาโนไซต์ชนิด B16F10 ที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเมลาโนไซต์สติมูเลติง ซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Pharmacognosy Journal ปี 2020 และจากการศึกษาวิจัยพบว่า ในเปลือกมังคุดมีปริมาณ ฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งประกอบด้วย สารแซนโทนและสารแทนนินเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยและยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวได้ ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงได้นำสารสกัดจากผลไม้ทั้งสองชนิดนี้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นาโนอิมัลชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว ผ่านการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและการทดสอบการระคายเคืองจากอาสาสมัครจำนวน 24 คน ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลเหรียญเงินจาก ผลงานประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษาปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต กล่าวอีกว่า จากนั้นทีมนักวิจัยได้นำสารสกัดจากเปลือกมังคุดและส้มแขกมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มาส์กหน้า โดยใช้เทคโนโลยีนาโนอิมัลชันและเซรั่ม (Nora serum) ที่มีคุณสมบัติในการลดริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ลดปัญหาผิวที่เกิดจากการสะสมของสารเคมี โดยไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และพาราเบน ซึ่งตนได้เป็นที่ปรึกษาให้กับทีม Mora bright ซึ่งมีสมาชิกในทีม ได้แก่ 1) นายพิทักษ์สิทธิ์ ทรัพย์เจริญ 2) นางสาวพัชราภรณ์ พรมลัทธิ์ 3) นายอิทธิ คงแก้วและ 4) นางสาวอาทิตยา เพชรรัตน์ นักศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มวล. ซึ่งนักศึกษาได้เป็นตัวแทนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาส์กหน้าในโครงการ Startup Prototype Showcases of the Entrepreneurial university และคว้ารางวัลชนะเลิศ ทุนสนับสนุนผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากโครงการ Walailak Enterpreneurial Ecosystem Development 2020 จากผลิตภัณฑ์เซรั่ม อีกด้วย

         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต กล่าวในตอนท้ายว่า ทั้งหมดนี้เป็นผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยประเภทบุคคลภายใน มวล. และทุนสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจาก Startup Prototype Showcases of the Entrepreneurial university และ Walailak Enterpreneurial Ecosystem Development 2020 ซึ่งตนและทีมนักวิจัยประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มวล. และนักศึกษาทีม Mora bright รวมถึงได้รับความร่วมมือจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี เฉียบฉลาด อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนายแพทย์ชนัทธ์ กำธรรัตน์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ สาขาตจวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันค้นคว้าวิจัยจนได้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้งานวิจัยไปสู่ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ  ในเชิงพาณิชย์ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับมังคุดและส้มแขกที่ผลผลิตราคาตกต่ำในบางฤดูกาล และการนำเอาสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่มักถูกทิ้งไปอย่างไร้ค่ามาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากสารสกัดจากธรรมชาติที่ปลอดภัยและได้แจ้งจด อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ Facebook มอรา ไบร์ท (Mora Bright)

ข่าวโดย น.ส.ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร
ขอบคุณข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.มรกต ชาตาธิคุณ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์

นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ Nora serum “เซรั่มสารสกัดจากเปลือกมังคุดและส้มแขก ช่วยลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ”และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

                 ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติขึ้น “The 2nd International Conference on Parasitology 2021” หรือ ICP2021 ในธีมของการประชุมเกี่ยวกับความท้าทายในการตรวจวินิจฉัยโรค วัคซีน และการป้องกันการแพร่กระจายของโรคปรสิตในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รองคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ในหัวข้อ “โมเดลในสัตว์ทดลองของการตรวจคัดกรอง การพัฒนาวัคซีน และการพัฒนายาต้านมาลาเรีย”

อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Read More »

สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์นานาชาติ กายภาพบำบัด ชีวเวชศาสตร์ Medical Technology Physical Therapy Biomedical Sciences

คณาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับ “ดีเยี่ยม” ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับ …

1) รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์

2) ผศ.ดร.มรกต ชาตาธิคุณ

3) อาจารย์ ดร.คมกริบ หลงละเลิง

ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับ "ดีเยี่ยม" ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยค่ะ

คณาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับ “ดีเยี่ยม” ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ Read More »