ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Biomedical Sciences
ชื่อปริญญา :
ภาษาไทย : ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวเวชศาสตร์)
ชื่อย่อ วท.ม. (ชีวเวชศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Master of Science (Biomedical Sciences)
ชื่อย่อ M.Sc. (Biomedical Sciences)
สถานภาพของหลักสูตร Date on which the programme specification was written or revised
วันที่อนุมัติหลักสูตร | สภามหาวิทยลัยอนุมัติ | สกอ.รับทราบหลักสูตร |
11 มีนาคม 2560 | 1 สิงหาคม 2561 |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
- ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ มุ่งพัฒนานักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยการใช้กระบวนการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ และบรูณาการกับศาสตร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ของโลกและสังคม สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในระดับประเทศและระดับสากล ตลอดจนปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตและสังคม
- วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
2.1 เป็นผู้มีความรู้ขั้นสูงด้านวิชาการในสาขาชีวเวชศาสตร์ บูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.2 เป็นผู้มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนทางวิชาการในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 สามารถสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการและพัฒนางานวิจัยด้านชีวเวชศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2.4 สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในระดับประเทศและระดับสากล
2.5 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของนักวิชาการ วิชาชีพวิจัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม แสดงบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
มีคุณสมบัติเป็นไป็นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 ดังลิงก์ http://bit.ly/2G2FPfV
วิธีการคัดเลือกนักศึกษา
- สอบสัมภาษณ์
- สอบข้อเขียนทางวิชาการ (เฉพาะกรณี)
แนวทางประกอบอาชีพ
1) การศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
2) อาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
3) นักวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชันสูตรขั้นสูงในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
4) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และ น้ำยาตรวจวิเคราะห์
5) การประกอบอาชีพอิสระทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 15,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อปีการศึกษา 45,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 45 หน่วยกิต โดยมี 2 แผนการเรียนดังนี้
ก. แผน ก แบบ ก 1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 45 หน่วยกิต
1) หมวดวิทยานิพนธ์ 45 หน่วยกิต
ข. แผน ก แบบ ก 2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 45 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ 10 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก 5 หน่วยกิต
3) หมวดวิทยานิพนธ์ 30 หน่วยกิต
Courses
– Cell and Molecular Biology
– Biostatistics in Biomedical Sciences
– Research Methodology in Biomedical Sciences
– Biomedical Sciences Seminar I
– Academic Writing
– Thesis Proposal Preparation
– Biomedical Sciences , etc.
Date on which the programme specification was written or revised: 16 July 2018